ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต
วัดพระญาติการาม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
หรือ วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังในอดีต เกียรติคุณความแก่กล้าในสรรพวิทยาคมของท่าน ยังได้รับการกล่าวขวัญจนถึงปัจจุบัน
◉ ชาติภูมิ
วัดพระญาติการาม เกิดราว พ.ศ.๒๓๙๐
ปีมะแม ที่ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวมีฐานะยากจน
พ่อแม่รับจ้างทั่วไป ต้องต่อสู้เพียงลำพังคนเดียว
เดิมมีชื่อว่า “อู๊ด” แต่บิดาเห็นว่าเป็นเด็กเฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงเปลี่ยนให้ใหม่ว่า “กลั่น”
เรียนหนังสือและวิชาช่างในสำนักวัดประดู่ทรงธรรม กับ “หลวงพ่อม่วง” ซึ่งเก่งทางกัมมัฏฐาน และเคยทำตะกรุดพิชัยสงครามถวายรัชกาลที่ ๕
เมื่อเป็นหนุ่มศึกษาวิชากระบี่กระบองและอาวุธไทยโบราณทุกชนิด ตั้งแต่ดาบเดี่ยว ดาบสองมือ หอก แหลน หลาว ง้าว โตมร ไปจนถึงมวยไทย
เวลารำกระบี่กระบองหรือรำกลอง ได้รับเสียงชื่นชมว่าสวยยิ่งนัก เพราะเคยเล่นโขนเป็นตัวหนุมานในโรงของเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) มาก่อน
เป็นผู้รักการต่อสู้ เป็นนักเลงจริง เป็นที่ครั่นคร้ามของคนทั่วไป แต่ครั้นเมื่อบิดามารดา นำไปอุปสมบท ก็ละวางอาวุธและความเป็นนักเลงขมังอาคม เป็นพุทธบุตรได้อย่างประเสริฐ อยู่ในผ้าเหลืองจนมรณภาพ
◉ อุปสมบท
วัดพระญาติการาม เข้ารับการอุปสมบท
ขณะมีอายุ ๒๗ ปี ที่วัดโลกยสุทธาศาลาปูน โดยมี พระญาณไตรโลก (สะอาด)
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกุศลธรรมธาดา วัดขุนญวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ
พระอธิการชื่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอานุสาวนาจารย์
ต่อมาได้ติดตามพระอธิการชื่น มาจำพรรษาที่วัดพระญาติ ร่ำเรียนด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน เวลาออกพรรษาก็ถือธุดงค์เป็นวัตร ไม่ค่อยอยู่ติดวัด ใกล้เข้าพรรษาก็กลับมาวัดเสียครั้งหนึ่ง
แม้ได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็ยังออกเดินธุดงค์ จนกระทั่งอายุมากขึ้นจึงได้หยุด ความรู้ของท่านทั้งด้านอาวุธโบราณและมวยไทยไปจนถึงวิทยาคม เล่าเรียนมาจากหลวงพ่อเฒ่ารอด หรือหลวงพ่อเฒ่ารอดเสือ วัดประดู่ในทรงธรรม พระอาจารย์เดียวกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ศิษย์ของ ที่ได้ศึกษาจากตำราสำนักนี้ เช่น หลวงปู่สี วัดสะแก และอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ฯลฯ
เมื่อท่านยังแข็งแรงอยู่นั้น สำนักวัดพระญาติการาม ผลิตนักกระบี่กระบองอันมีชื่อก้อง
วัดพระญาติการาม หรือชื่อเดิมว่า “วัดพบญาติ” เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองกรุงเก่ามาแต่อดีต แม้สงครามเสียกรุงจะทำให้วัดหยุดความเจริญไปพักหนึ่ง แต่ก็กลับมาเจริญอีกในที่สุด ด้วยบารมีของหลวงพ่อกลั่น
ด้วยรูปลักษณ์ วัดพระญาติการาม จะเป็นนักเลงโบราณ หน้าตาค่อนข้างดุ พูดจาตรงๆ แรงๆ แต่กอปรด้วยความเมตตายิ่ง ท่านชอบเลี้ยงสัตว์ เช่น ลิง นก สุนัข แมว กา ไก่ และชะนี สัตว์ทุกชนิดจะเชื่องมาก
ลูกศิษย์หลวงพ่อกลั่น ในสมัยนั้นมีทั้งมาเรียนวิทยาคม เรียนกระบี่กระบองป้องกันตัว หรือเรียนกลองยาวเล่นในพิธีบวชนาค สงกรานต์ แห่ผ้าป่าและกฐิน ซึ่งวิชาเหล่านี้ท่านลงมือสอนด้วยตัวเองทั้งสิ้น
◉ มรณภาพ
วัดพระญาติการาม ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗ สิริอายุรวม ๘๗ ปี พรรษา ๖๐
เล่ากันว่า ในวันที่จะมรณภาพ อีกานับพันตัวมาออกันทั่ววัด ส่งเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่ ครั้นเมื่อหลวงพ่อกลั่นสิ้นลมอีกาเหล่านั้นเงียบเสียงเป็นปลิดทิ้ง แล้วโผบินจากไปเป็นกลุ่มๆ ครั้นถึงวันฌาปนกิจรุ่งขึ้นมีการทำบุญอัฐิ อีกาก็กลับมาอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย พวกมันบินมาเกาะที่เชิงตะกอนและลานวัด ก่อนจะบินวนอยู่ ๓ รอบ ตั้งแต่วันนั้นไม่มีใครเห็นอีกาที่วัดพระญาติการามอีกเลย
◉ ด้านวัตถุมงคล
ด้านพระเครื่องและวัตถุมงคลที่ วัดพระญาติการาม
ท่านได้ปลุกเสกไว้ ล้วนเป็นที่ปรารถนา โดยเฉพาะเหรียญเสมารุ่นแรก
ซึ่งเป็นเหรียญหลักยอดนิยมของวงการพระในปัจจุบัน
ในชีวิตท่านสร้างวัตถุมงคลโด่งดังที่สุด คือ เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๖๙,
เหรียญกลม ปี พ.ศ.๒๔๗๘, เหรียญยันต์ตะกร้อ ปี พ.ศ.๒๔๘๓, เหรียญรุ่นชาตรี ปี
พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้น
บรรดาเหรียญคณาจารย์ดังของเมืองไทยนั้น เหรียญหลวงพ่อกลั่น ถูกจัดวางให้เป็นอันดับหนึ่งในชุดเบญจภาคีเหรียญ
หรือ ที่เรียกกันว่า “เหรียญรูปเหมือน พิมพ์ขอเบ็ด” วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นเหรียญที่ได้รับการยกย่องจากแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ให้เป็น ๑ ใน ๕ อันดับเหรียญพระสงฆ์ยอดนิยมที่มีค่านิยมสูง ด้วยความงดงามทางพุทธลักษณะและความเป็นเลิศทางพุทธคุณ พระเกจิอาจารย์ผู้ทำการปลุกเสก ก็คือ หลวงพ่อกลั่น ธมมโชโต พระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษและมีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งของจังหวัด หาดูหาเช่ายากมากในปัจจุบัน
ผู้สร้าง นี้ พระครูศีลกิตติคุณ (หลวงพ่ออั้น คันธาโร) ศิษย์เอกหลวงพ่อกลั่น เป็นผู้จัดสร้าง เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทุนทรัพย์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระญาติการามซึ่งหลวงพ่อกลั่นท่านเมตตาปลุกเสกให้ด้วยตัวท่านเอง เนื้อหามวลสาร จำนวนการสร้างเหรียญแต่ละชนิดนั้น มีอยู่ในบันทึกวัดพระญาติการาม โดย หลวงพ่ออั้น เจ้าอาวาสองค์ถัดมา
ดังนี้ ในการสร้างคราวนั้น มีการสร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่นเนื้อพิเศษ คือ เงินหน้าทอง ประมาณ ๑๒ เหรียญ เงินหน้านากประมาณ ๒๕ เหรียญ เงินประมาณ ๑๐๐ เหรียญ เหรียญทองแดงมีประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ
ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา หูในตัว พิมพ์ด้านหน้า ด้านบนสุด เป็นปี พ.ศ.ที่สร้างเหรียญคือ “พ.ศ.๒๔๖๙ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นเต็มองค์ โดยรอบประกอบด้วยอักขระขอมและตกแต่งลวดลายกระหนกอย่างสวยงาม ขอบเหรียญจารึกอักษรไทยว่า “” ภายในขอบที่ลักษณะคล้ายโบ พิมพ์ด้านหลัง เป็นยันต์เฑาะขมวดกัน ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “ที่รฤก ในการ” ด้านล่าง “ปฏิสังขรณ์ อุโบสถ” และด้วยยันต์เฑาะที่ขมวดกันอยู่นั้นมีลักษณะคล้ายขอเบ็ด จึงนำมาเรียกเป็นชื่อพิมพ์ว่า “พิมพ์ขอเบ็ด”
พุทธคุณ โดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และยังได้เรื่องเมตตามหานิยม
อ้างอิง-ที่มา : https://www.108prageji.com/หลวงพ่อกลั่น/