หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

วัดบางกะพ้อม
อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

จ.สมุทรสงคราม พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมอันดับต้นๆแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๘ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่่า เดือน ๕ ปีฉลู ณ บ้านสำโรง (ปัจจุบันคือ ต.โรงหีบ อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม) บิดาชื่อ “นายเกตุ” และมารดาชื่อ “นางทองอยู่” ต่อมานามสกุลที่ท่านใช้คือ “จันทร์ประเสริฐ” ซึ่งเป็นต้นสกุลของหลวงพ่อคง

เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาและโยมมารดาให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้งละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่าเย็นวันนั้น หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่านถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจงกันเป็นการใหญ่ จนมีอายุ ๑๙ ปี ก็ได้ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยการงานของพ่อและแม่

◉ อุปสมบท
พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า “ธมมฺโชโต” แปลว่า “เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม

หลังอุปสมบท ได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ เรื่อยมาเพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาทั้งทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระ วิชาช่าง และวิชาการทำผงวิเศษต่างๆ กับพระอุปัชฌาย์ด้วง เจ้าอาวาสวัดเหมืองใหม่ รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมการท่าน้ำมนต์ และวิชาเมตตามหานิยมจากพระอธิการทิม อีกด้วยระหว่างที่จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ ได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณที่เต็มไปด้วยพระสูตรสนธิต่างๆ กับอาจารย์นก ซึ่งเป็นฆราวาสชื่อดังในละแวกนั้นเป็นเวลาถึง ๑๓ ปี จนคล่องแคล่วแตกฉานสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ได้โดยง่าย

หลวงปู่เอี่ยม วัดปากลัด พระอาจารย์ของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงปู่เอี่ยม วัดปากลัด พระอาจารย์ของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์
หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์
หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร วัดช้างเผือก​
หลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร วัดช้างเผือก​

ด้วยความที่หลวงพ่อคง มีอุปนิสัยที่รักในการศึกษาเล่าเรียนจึงชื่นชอบที่จะไปศึกษาวิชากับพระอาจารย์ต่างๆ เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทำให้ท่านไปฝากตัวร่่าเรียนวิชากับพระอาจารย์ชื่อดังอื่นๆอีกมากมายได้แก่

หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เรียนวิชาการลงนะปัดตลอด
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ฤทธิ์ วัดอรุณราชวราราม เรียนวิชาการลงกระหม่อนด้วยขมิ้น
หลวงพ่อปาน วัดโรงธรรม เรียนวิชาตะกรุดมหาปราบและเสื้อยันต์
หลวงปู่เอี่ยม วัดปากลัด เรียนวิชาตะกรุดมหาระงับ
หลวงพ่อหรุ่น พุทฺธสโร วัดช้างเผือก เรียนวิชาพระกัมมัฏฐาน
หลวงพ่อเทียน วัดละมุดใน เรียนวิชากายทิพย์ หายตัว พลางตัว
หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฏร์ เรียนวิชา มีดหมอ ทำน้ำมนต์ (ไล่ผีปีศาจ) แพทย์แผนโบราณ
พระปลัดทิม วัดบางลี่บน เรียนวิชาท่าน้ำมนต์โภคทรัพย์และวิชาดูดวงชะตา
หลวงพ่อไล้ (ร้าย) วัดเขายี่สาร เรียนวิชาทำลูกอม( ลูกอมมหากัน) และวิชากระสุนคต

อยู่จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ เรื่อยมาจนกระทั่งพรรษาที่ ๒๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ว่างลง ชาวบ้านบางกะพ้อม จึงพร้อมใจกันอาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาส

 
หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

◉ มรณภาพ
หลังจากที่ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ท่านได้ทำการฟื้นฟูบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งช่ารุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในเชิงช่างเป็นอย่างสูง จึงทำให้สามารถสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงได้ในเวลาอันสั้น นอกจากนี้ท่านยังมีความชำนาญในการปั้นพระพุทธรูปต่างๆ ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้น มักถูกขอไปประดิษฐานตามวัดต่างๆ ในพื้นที่แม่กลอง

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็ได้พัฒนากิจการงานต่างๆ ในพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

มรณภาพลงด้วยโรคชรา หลังจากที่ท่านกำลังตกแต่งพระประธานองค์ใหม่ภายพระอุโบสถ บนนั่งร้าน หลวงพ่อท่านได้นั่งสมาธิและมรณภาพลงด้วยความสงบ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘

รูปหล่อบูชา หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม
รูปหล่อบูชา หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม
รูปหล่อ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต ณ วัดบางกะพ้อม
รูปหล่อ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต ณ วัดบางกะพ้อม

◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านมีมากมาย ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏทั้งสิ้น อาทิ เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก, เหรียญหล่อพิมพ์เทวดาถือหางนกยูง,เหรียญหนุมานแบกพระโมคคัลลาน์สารีบุตร, ลูกอมและตะกรุด เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเห็นจะเป็น ซึ่งนอกจากจะมีรูปเหมือนรุ่นแรกแล้ว ยังมีคำจารึกที่เป็นมงคลว่า “ลาภ ผล พูน ทวี” อีกด้วย

เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม (เปลื้อง ดิลกโยธิน) ขออนุญาตจัดสร้าง เพื่อบูชาพระคุณในวาระที่หลวงพ่อคงอายุครบ ๗๗ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ โดยนำชนวนโลหะที่หล่อพระในพิธีที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ มาหลอมผสมกับทองแดงรีดเป็นแผ่น แล้วนิมนต์ให้หลวงพ่อคงลงอักขระบนแผ่นโลหะและปลุกเสก

เมื่อหลวงพ่อคงมรณภาพ พ.อ.พระยาศรีสุรสงครามได้มอบเหรียญทั้งหมดแก่ หลวงพ่อแช่ม โสฬส วัดจุฬามณี ก่อนตกทอดมาสู่หลวงพ่อเนื่องซึ่งได้น่าออกแจกจ่ายจนหมด

ลักษณะ เป็น เหรียญปั๊มรูปไข่  ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคงครึ่งองค์หน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีตัวหนังสือไทยโค้งโดยรอบว่า “พระอุปัชฌาย์คง วัดบางกะพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

มุมกลางล่างสุดของเหรียญมี “ตราดอกจันทน์” ลักษณะใบหน้าหลวงพ่อ ปากเม้มเข้า ตาดุ เห็นแววตาขึ้นเป็นเม็ด ครูโบราณบอกเป็นศิลปะการแกะชั้นสูง มองจากตรงไหนก็จะเห็นท่านมองสบตาเรา บริเวณหน้าผากมีรอยย่น จมูกโด่ง แก้มตอบเห็นกระดูกสันแก้ม

ด้านหลัง เป็น “ยันต์ห้า” หรือ “ยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์” ด้านบนยันต์มี “อุณาโลม ๓ ตัว” ในยันต์เป็นตัวอักษรขอมจารึกหัวใจพระพุทธเจ้า “นะ โม พุท ธา ยะ” ใต้ยันต์ห้าเป็นอักขระขอม ๔ แถว อ่านได้ว่า “สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัชชิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สีติภูโตสทาภวะ” ขอบเหรียญมีอักษรระบุโดยรอบ ด้านบนว่า “ลาภ ผล พูน ทวี”

ขอบด้านล่างว่า “ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก amuletheritage.com

 



อ้างอิง-ที่มา : https://www.108prageji.com/หลวงพ่อคง-วัดบางกะพ้อม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ให้ตรงใจคุณยิ่งขึ้น
x