หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ

วัดคงคาราม
อ.เมือง จ.เพชรบุรี

หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

พระเกจิอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระและเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแห่งเมืองเพชรบุรี

◉ ชาติภูมิ
เป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเมีย ที่บ้านสะพานช้าง ต.มะม่วง อ.คลองกระแชง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อ “นายนง” และมารดาชื่อ “นางนก ยังอยู่ดี” เป็นบุตรคนโตในจำนวน ๕ คน

◉ อุปสมบท
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ พ.ศ.๒๔๒๑ โดยมี พระพิศาลสมณกิจ (สิน) เจ้าอาวาสวัดคงคาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดอบ วัดคงคาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ อาจารย์ครุฑ วัดมหาธาตุ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุขภิกขุ

ท่านได้มุ่งศึกษา ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ โดยเฉพาะด้านวิปัสสนาธุระ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ครุฑ วัดมหาธาตุ

ต่อมา “” ท่านได้มุ่งทางพุทธภูมิเป็นจุดหมายปลายทาง ท่านได้กระทำอย่างตั้งใจเต็มที่ เต็มไปด้วยความอุตสาหะวิริยะพากเพียรอย่างเเรงกล้า ตลอดเวลาติดต่อกัน ๗ พรรษาไม่ว่างเว้น แต่ในด้านวิปัสสนาธุระของท่านได้บรรลุถึงความสำเร็จสมดังที่มุ่งหมายตามที่ท่านตั้งใจ

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมาจนเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุวรรณมุนี ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด และได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ แห่งวัดคงคาราม
สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นโท มีราชทินนามที่พระสุวรรณมุนี นรสีห์ธรรมทายาท สังฆปาโมกข์ และได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัด ท่านทำการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างความเจริญแก่วัดคงคาราม

หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

◉ มรณภาพ
ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ สิริรวมอายุ ๖๕ ปี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เป็นคำนำไว้ในหนังสือที่เเจกในงานพระราชทานเพลิงศพ “” ว่า …ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะรับเป็นธุระ รู้สึกว่าได้มีส่วนช่วยงานศพพระสุวรรณมุนี ซึ่งเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยชอบพอมาช้านาน ตั้งแต่ท่านเป็นพระครูอยู่ในรัชกาลก่อน เป็นอาจารย์วิปัสสนา มีศิษย์หามากกว่าใครๆทั้งเมืองเพชรบุรี และเป็นผู้มีอัชฌาศัยเรียบร้อยมั่นคงในพระธรรมวินัย แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประธานสกลมหาสงฆ์ก็ทรงยกย่องวัตรปฎิบัติของท่าน เเละ โปรดมาแต่ครั้งนั้น…

จากข้อความที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงไว้นี้ ย่อมมีคุณค่า เเละน้ำหนักยิ่งกว่าคำขีดเขียนใดๆที่มีอยู่ทั้งสิ้น แม้แต่พระครูญาณวิลาส (หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ) เคยกล่าวไว้ว่า “อาจารย์ท่านมีองค์เดียว คือหลวงปู่ฉุย วัดคงคาราม ที่ประสาทวิชากรรมฐานให้โดยสมบูรณ์ และยังพกเหรียญหลวงปู่ฉุย ติดย่ามตลอดเวลา

 

กล่าวกันว่าพุทธคุณของเหรียญทรงคุณอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนั้น เนื่องจาก “คุณพ่อฉุย” ได้อภิญญา จากการปฎิบัติวิปัสสนา ที่ท่านได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ บุคคลที่ประสบอิทธิปาฎิหาริย์นั้น มักจะหนักทางมีเมตตาคุณ คือ จะมีพระภิกษุไปคุ้มครองรักษาในยามที่เข้าที่คับขันเสมอ

เนื่องจาก “” ได้ตั้งปณิธานไว้แต่ต้นที่ขอมุ่งเอา “พุทธ-ภูมิ” เป็นที่ตั้ง ความบริสุทธิ์ที่บังเกิดขึ้นในจิตจึงเต็มไปด้วยเมตตาคุณเป็นที่สุด

หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

◉ ด้านวัตถุมงคล
สำหรับ “” นั้น ท่านสร้างเพื่อแจกแก่พ่อค้าประชาชนที่มีจิตศรัทธาบริจาคปัจจัยร่วมสร้าง “มณฑปประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา” ที่วัดคงคาราม หลังจากนั้นได้เคยมีการออกเหรียญอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๖๗ โดย อาจารย์มงคล วัดคงคาราม ซึ่งลักษณะของเหรียญจะเหมือนกับเหรียญรุ่นแรก แต่แตกต่างกันที่ปี พ.ศ.ที่จัดสร้าง และพระพักตร์ที่ค่อนข้างใหญ่

ในครั้งนั้นได้จัดสร้างพร้อมกับรูปหล่อลอยองค์ของ เพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อในปีเดียวกันนั้นเอง ดังนั้น จึงนับเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ทันท่านปลุกเสกก่อนที่จะมรณภาพ

เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อฉุย สุขภิกฺขุ วัดคงคาราม ปี พ.ศ.๒๔๖๕
เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อฉุย สุขภิกฺขุ วัดคงคาราม ปี พ.ศ.๒๔๖๕

เป็นเหรียญรูปไข่ที่มีขนาดเขื่องกว่าเหรียญอื่นๆ เล็กน้อย ลักษณะหูเชื่อมด้วยน้ำประสานเงิน จัดสร้างโดยฝีมือช่างหลวง จึงมีความประณีต อ่อนช้อย และงดงาม สร้างเป็นเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว ด้านหน้า รอบเหรียญแกะลวดลายดอกไม้และโบประดับ โดยได้แบบอย่างมาจาก “เหรียญสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส” ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อฉุยครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ภายในโบจารึกอักษรไทยด้านบนซ้ายว่า “พ.ศ.”

ด้านบนขวาว่า “๖๕” ด้านล่างซ้ายว่า “พระสุวร” และด้านล่างขวาว่า “รณมุณี” ส่วน ด้านหลัง เป็น “ยันต์กระบองไขว้จำหลัก” บรรจุพระคาถาหัวใจพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ “นะ โม พุท ธา ยะ” ด้านหลังจะมี ๒ บล็อก คือ “โมมีไส้” และ “โมไม่มีไส้” “โม” หมายถึง อักขระขอมภาษาบาลี ในยันต์กระบองไขว้ เป็นอักขระในแถวที่สองทางซ้ายมือของเรา ซึ่งทันท่านทั้งสองบล็อก แต่เนื่องจากสร้างถึง ๕,๐๐๐ เหรียญ จึงเกิดบล็อกด้านหลังแตก ต้องแกะเปลี่ยนบล็อก

ต่อมาเกิดมีการสร้าง “เหรียญล้อรุ่นแรก” ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดย อาจารย์แฉ่ง เหรียญจะมีลักษณะเหมือนกับรุ่นแรกทุกประการ แม้แต่ปี พ.ศ.ที่สร้าง เอกลักษณ์สำคัญในการดูว่าเป็นรุ่นแรกและแท้แน่นอนนั้น ให้สังเกต “ดอกไม้เหนือศีรษะท่าน” จะมีเกสรเป็นเส้นเต็มกลีบดอก กลางดอกนูนเต็ม หากเป็นรุ่นอาจารย์แฉ่ง กลางดอกจะกลวงโบ๋ เกสรไม่กระจายเต็มกลีบดอก

นอกจากนี้ ให้ดู “ก้านรวงข้าว” ที่ยื่นออกจากโบทั้งซ้ายและขวา ตัวก้านจะมีลักษณะเหมือนเม็ดไข่ปลาเรียงติดๆ กันเป็นตัวก้าน หากเป็นรุ่นสาม (รุ่นอาจารย์แฉ่ง) ก้านจะเป็นเส้นตรงธรรมดา ไม่ปรากฏเป็นเม็ดไข่ปลา และที่ “ตัวกนก” ที่ล้อมรอบเหรียญ จะใหญ่หนาทึบแต่มีความอ่อนช้อย

 



อ้างอิง-ที่มา : https://www.108prageji.com/หลวงพ่อฉุย-วัดคงคาราม/
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ให้ตรงใจคุณยิ่งขึ้น
x